๒๕๕๔/๐๑/๐๑

ว่าด้วยเรื่องทวิตเตอร์และเฟสบุค : บทความ 120 ตัวอักษร

มีนักเขียนหลายท่านที่เขียนถึง ทวิตเตอร์ และ เฟสบุค แนะนำให้ใช้งานหรือบอกเล่าบอกต่อประสบการณ์จากการใช้งาน วันนี้ผมเดินทางผ่านเว็บ "ไอเดีย.วอร์รูม" เห็นว่าบทความสั้นๆ นี้น่าสนใจก็เลยนำมาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

รู้จักกับเว็บ ไอเดีย.วอร์รูม

ก็ไม่รู้ว่าจะบรรยายหรือพูดถึงเว็บ "ไอเดีย.วอร์รูม" นี้อย่างไรดี เท่าที่สัมผัสได้จากการเข้าไปอ่านงานเขียนจาก คลังบทความ ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลายแต่ก็แบ่งเอาไว้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน มีหลายบทความที่อ่านแล้วเพิ่มรอยหยักในสมองอีกเยอะเลย



ที่มาของบทความ 120 ตัวอักษร
  • บทความจาก www.a-random.net
  • Published: August 24, 2010 – 7:22 am
  • Author: By mgaston

ไม่ทราบว่างานเขียนที่เลือกมาในชิ้นนี้จะโดนใจผู้อ่านมากน้อยแค่ไหน? เป็นบทความแบบสรุปใจความสั้นๆ (แยกเป็นข้อๆ) บอกทั้งข้อดีข้อเสียของการเขียนผ่านทวิตเตอร์และเฟสบุค ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเขียนทั้งหลายควรสดับรับฟังเอาไว้ มาลองอ่านกันดูครับ

บทความ 120 ตัวอักษร

1. ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค ทำให้ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียน ไม่สนใจที่จะสื่อความด้วยการใช้ข้อความยาวมากเกินไป และในฐานะผู้อ่าน ก็ไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ

2. ข้อดีสำหรับฝั่งผู้เขียนคือ สามารถสื่อความได้หลากหลายเรื่องราวมากขึ้น โดยไม่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลมากนัก กล่าวคือ เจออะไร ก็โพสมันไปอย่างนั้น

3. แต่มันทำให้ผู้อ่านไม่ได้รับประโยชน์มากนัก และในฝั่งผู้เขียนเอง ก็ไม่ได้พัฒนาทักษะการสื่อความที่ถ่ายทอดความซับซ้อนของเรื่องราว

4. นิทเช่เป็นนักปรัชญาที่สนใจการเล่าเนื้อความให้กระชับ 1 บรรทัดของเขาคือ 10 บรรทัดของคนทั่วไป แต่น้อยครั้งที่ข้าพเจ้าจะได้ฝึกเช่นนั้นในทวิต

5. เวลาส่วนใหญ่ เสียไปกับการแปะเนื้อหาจากเวบอื่น พร้อม comment ที่สั้น และจืดชืดไร้เนื้อหา หากกล่าวว่าการเขียนทำให้ความคิดตกตะกอนแล้ว…

6. การเขียนผ่าน facebook และทวิตเตอร์ ก็ไม่ได้ทำให้ตะกอนความคิดหยุดหมุนไปตามน้ำเลยแม้แต่น้อย เราจำเป็นต้องทบทวนการสื่อความผ่านสื่อต่างๆ

7. รู้จักข้อจำกัด และข้อดีของแต่ละสื่อ สำหรับข้าพเจ้าทวิตเตอร์กับ facebook เหมือนกล้องคอมแพคที่พกพาไปได้ทุกที่ และ blog คือกล้อง dslr ที่…

8. มีความละเอียด ต้องใช้ความประณีต ภาพจากกล้อง compact จะปลุกความอยากรู้ในระยะสั้น ภาพจากกล้อง dslr จะสยบความสงสัย และเปิดประเด็นระยะยาว

9. หากให้ความสำคัญแต่ twitter และ facebook ผู้อ่านจะได้แต่ความฉาบฉวย และความสงสัยที่ไม่มีวันจบ แต่ถ้าให้ความสำคัญแต่ blog เราจะพลาดโอกาส…

10. ที่จะเปิดแนวหน้าการสำรวจความคิดให้กว้างขวางขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นักเขียนยุคปัจจุบันต้องหาจุดสมดุลระหว่างสองสื่อ

หมายเหตุ: ผมไม่ได้หยิบมาครบทุกข้อ คัดมาเพียง 10 จาก 12 ข้อเท่านั้น ถ้าหากสนใจจะอ่านแบบเต็มๆ ก็ตามลิงค์ที่อ้างอิงไว้ข้างล่างนี้

Reference and Thanks : www.a-random.net


Share/Bookmark

ไม่มีความคิดเห็น: