๒๕๕๒/๐๕/๑๑

RAM : ใช้แรมยี่ห้ออะไร รุ่นไหน ขนาดกี่เม็ก เป็น ddr หรือ ddr2?

เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องจะใช้แรมไม่เหมือนกัน และในท้องตลาดจะมีแรมที่มักใช้กันอยู่ 3-4 ชนิด ได้แก่ SD-RAM, DDR-Ram, DDR-2 และ DDR-3 ที่เป็นแรมรุ่นใหม่ ซึ่งจะมีความเร็วแตกต่างกันไป

แถมแต่ละยี่ห้อยังมีชื่อเสียงแตกต่างกัน!!

แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง : th.wikipedia.org/wiki/แรม


แล้วจะมีทางใดได้บ้าง? ที่สามารถตรวจสอบแรมของเราได้อย่างง่ายๆ!!


วิธีที่เบสิคที่สุด (System Properties)

วิธีการตรวจเช็คแรมเบื้องต้นที่ง่ายที่สุด เบสิคที่สุด และเสียเวลาน้อยที่สุด ก็คือการเช็คจาก System Properties ของวินโดว์เอง ซึ่งจะทำให้ทราบเพียงแค่ "มีแรมเท่าไร?" หรือ "มีแรมกี่เม็ก?" มีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกขวาที่ My Computer > Properties



2. ที่แท็บ General ให้ดูรายละเอียดของแรมที่แจ้งเอาไว้



หมายเหตุ : วินโดว์รุ่นโมพิเศษตระกูล Dark Edition ก็จะมีหน้าตาแบบนี้ครับ



วิธีที่สอง เข้าทางคอนโทรลพาเนล (Control Panel)

วิธีการก็จะเหมือนกับวิธีแรก เพียงแต่ผ่านขั้นตอนไปยัง Control Panel > System แทนการคลิกขวาที่ My Computer ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะเหมือนกัน คือ ทราบแค่เพียงว่า "มีแรมเท่าไร?"

1. คลิกที่ Start > Control Panel



2. เลือกมุมมองแบบคลาสสิค > ดับเบิลคลิกที่ System



หมายเหตุ : ที่แท็บ General ให้ดูรายละเอียดของแรมที่แจ้งเอาไว้



วิธีที่สาม ใช้โปรแกรม CPU-Z

โปรแกรม CPU-Z จาก www.cpuid.com เป็นยูทิลิตี้เล็กๆ แต่ทรงประสิทธิภาพมาก จะบอกรายละเอียดที่ตรวจพบทั้ง ซีพียู แคช เมนบอร์ด และแรม แต่ในที่นี้ผมจะกล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับแรม ดูได้จากรูปข้างล่างนี้ครับ

แท็บ Memory



  • Type : ชนิดของแรมที่เราใช้
  • Size : ขนาดของแรม (หน่วยเป็น MB)

แท็บ SPD



  • Memory Slot Selection : เลือกเช็คแรมตามสล็อตที่เสียบเอาไว้
  • Module Size : บอกว่าแรมแผงนั้นขนาดเท่าไร
  • Max Bandwidth : บอกความเร็วแรมที่กำหนดไว้
  • Manufacturer : บอกยี่ห้อ/บริษัทผู้ผลิต
อ่านมาถึง ณ ตรงนี้ ก็หวังว่าท่านผู้อ่านคงพอจะรู้วิธีการตรวจเช็คแรมแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองแล้วนะครับ หากยังไม่ได้โหลด CPU-Z ก็ "คลิกโหลดได้ที่นี่" แตกไฟล์ออกมาก็สามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องติดตั้งแต่ประการใด

ต่อไปใครจะถามเราว่า... เครื่องของนายใช้แรมรุ่นไหน? ขนาดแรมในเครื่องรวมเท่าไร? ใช้แรมกี่ตัว(กี่แผง)? ใช้แรมยี่ห้อไหน? แรมความเร็วเท่าไร? ตานี้คงตอบได้แล้วนะ


Reference and Thanks : http://www.cpuid.com

๕ ความคิดเห็น:

inatmon กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่เบสิคมาก แต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน ขอบคุณครับพี่พจน์ อิอิ

none กล่าวว่า...

เขียนได้ละเอียดมากครับ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

แล้วจะรู้ได้ไงว่า คอมของเรารองรับ Ram ได้กี่ GB คับ

Unknown กล่าวว่า...

ค้นหาในกูเกิ้ลครับ ว่าcpuที่เราใช้รองรับได้กี่GB ครับ ง่ายพิมพ์หาcpu แล้วเข้าไปหาข้อมูลเอาครับ